วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา

               โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เดิมคือ โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์ ซึ่งเคยเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดจังหวัดพระนคร เปิดเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๔ รับนักเรียน ชั้นประถมศึกษามาโดยตลอด และได้พัฒนามาเป็นลาดับ
                กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติการเปลี่ยนชื่อจาก โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์ มาเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖
                ปัจจุบันโรงเรียนมีพื้นที่ ๑๐ ไร่ ๙๐ ตารางวา มีอาคารเรียน ๔ หลัง จานวนห้องเรียน ๕๐ ห้อง ห้องพิเศษ ๓๒ ห้อง อาคารฝึกงาน ๑ หลัง ๖ ห้อง สนามบาสเกตบอล สนามอเนกประสงค์ ห้องส้วมชาย ๓ หลัง ๒๙ ห้อง ส้วมหญิง ๑ หลัง ๑๗ ห้อง มีที่พักผ่อนดูหนังสือทั่วบริเวณ บ้านพักครู ๒ หลัง แฟลตพักภารโรง ๒ หลัง ๑๘ ห้อง อาคารหอประชุม-โรงอาหาร ๑ หลัง จานวนครู-อาจารย์ปัจจุบัน ๙๖ คน ลูกจ้างประจา ๑๔ คน ลูกจ้างชั่วคราว ๓๕ คนและมีนักเรียนประมาณ ๒,๗๐๐ คน เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึง มัธยมศึกษาปีที่ ๖


การสังเกตการสอนและการใช้สื่อการสอนในรายวิชาชีววิทยา
          เราได้ไปสังเกตการสอนกันที่โรงเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา  ในวิชาชีววิทยา  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6  ในช่วงบ่ายคาบเรียนที่ 6-8  กับคุณครู 2 ท่าน  คือ  คุณครูอุบล  บุญชู  และคุณครูประสพสุข  ศรีวันนู


               ช่วงบ่าย คาบที่ 6-7  ได้เข้าไปสังเกตการสอน  คาบเรียนวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม  ในเรื่องการสังเคราะห์โปรตีน  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกาาปีที่ 6/1  ที่มีคุณครูอุบล  บูญชู  เป็นผู้สอน  คุณครูมีการสอนแบบบรรยาย  โดยเขียนบนกระดาน  มีการสรุปใจความสำคัญ  หลังจากนั้นก็ให้นักเรียนดูวิดีโอหลังจากบรรยายเสร็จเพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น  มีการสั่งการบ้านเพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้ที่เรียนมาในวันนี้ด้วย


บรรยากาศภายในห้องเรียน

วิดีโอเรื่องที่สอน

วิดีเรื่องที่สอน

สั่งการบ้านหลังจากดูวิดีโอเสร็จเรียบร้อย

ถ่ายรูปร่วมกับคุณครูอุบลเป็นที่ระลึก

               ในคาบที่ 8  เราก็ย้ายไปสังเกตการสอนในวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2  มีคุณครูประสพสุข  ศรีวันนู  เป็นผู้สอน


                 ในวันนี้เป็นการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  โดยการวาดรูปการนำเอาวิทยาศาสตร์ไปใช้เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  ซึ่งเป็นการบูรณาการหลายวิชา  ทั้งวิชาวิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรมไทย  และวิชาศิลปะ


               นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลงานของตนเองออกมานำเสนอแนวคิดของรูปภาพให้คุณครูและเพื่อนได้ฟัง  บรรยากาศภายในห้องเรียนเต็มไปด้วยความสนุกสนาน  มีการซักถามทั้งจากครูและนักเรียน  ซึ่งกิจกรรมนี้ส่งผลให้นักเรียนมีการกล้าคิดกล้าแสดงออก  ใช้จินตนาอย่างสร้างสรรค์ในการสรรค์สร้างผลงาน

ผลงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม


               คุณครูประสพสุขได้ทำการสรุปจากที่ได้เรียนไปวันนี้ว่า  วิทยาศาสตร์นั้นเกี่ยวข้องกับหลายวิชา  ซึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน


                นอกจากนี้ยังมีนิตยสารวิทยาสตร์ที่มีเล่มเดียวในโลก  เป็นการรวบรวมเอาข่าสารวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนจัดทำขึ้นมารวมไว้เป็นรูปเล่ม  เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า

ถ่ายรูปกับคุณครูประสพสุขเป็นที่ระลึก

               จากการสังเกตการการใช้สื่อส่วนใหญ่จะเป็นการใช้สื่อที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  มีภาพ  เสียง  และการเคลื่ยนไหวเป็นผู้ให้ความรู้  ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี  เป็นการเพิ่มความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมากยิ่งขึ้น  ต้องขอขอบคุณคุณครูอุบล  และคุณครูประสพสุข  ที่ให้คำแนะนำและเทคนิคการสอนที่ดี  ที่ทำให้เด็กตั้งใจเรียนและได้รับความรู้อย่างเต็มที่  ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ


วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีทางการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษา

วุฒิสภารัฐจอร์เจีย เล็งชูเรียนด้วย iPad แทนหนังสือเรียนในโรงเรียน



               ด้วยกระแสเทคโนโลยี tablet กำลังมาแรง และยอดของข่าวหนังสือพิมพ์และนิตยสารในประเทศสหรัฐอเมริกาแบบที่ใช้กระดาษ ยอดขายตกอย่างน่าตกใจ เพราะนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่คนส่วนใหญ่ในสหรัฐ มี tablet ของตัวเอง พกพาอ่านข่าวทาง e-book บนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Kindle ของ Amazon และ iPad จาก Apple และล่าสุดเปิดตัวไม่นานสำหรับ applicationหนังสือพิมพ์ออนไลน์บน ipad อย่าง The Daily ที่เปิดตัวพร้อมบริการข่าว ในราคาถูกกว่าหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป
  

               ข่าวจากการให้สัมภาษณ์ของคุณ Tommie Williams ประธานวุฒิสภาสหรัฐ ได้กล่าวให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ถึงเรื่อง รัฐจอร์เจียเตรียมสนับสนุนโครงการให้นักเรียนใช้ iPad แทนหนังสือเรียน ชี้ลดค่าใช้จ่ายในการสั่งตำราหนังสือในระยะยาว
               โดยด้กล่าวต่อไปอีกว่า “ค่าใช้จ่ายหนังสือเดิมๆ ปกติ ตำราเรียนและสมุดเรียนมีราคาสูงถึง 40 ล้านเหรียญต่อปี และต้องปรับเนื้อหาสดใหม่อยู่เสมอ ซึ่งจะต้องผลิตหนังสือใหม่ทุกปี ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองเรื่องกระดาษและหนังสือเนื้อหาที่จะเก่าไป ถ้าหากผ่านการอนุมัติดำเนินโครงการให้ใช้ ipad ใช้แทนหนังสือเรียนในโรงเรียนนี้ได้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากในหลายๆด้าน ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายตำราหนังสือเรียนได้ถึง 7,200 เหรียญต่อปี และการปรับเนื้อหาหนังสือใหม่สามารถทำได้ง่ายมาก รวมถึงการเรียนที่สนุกน่าสนใจมากขึ้น เพราะ ครูสามารถมอบหมายการบ้านให้กับนักเรียน และติดต่อสื่อสารกับนักเรียนด้วย ipad ได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีเกมที่เสริมทักษะและสอนเนื้อหาให้นักเรียนมีความเข้าใจกับบทเรียนได้มากขึ้นด้วย ซึ่งต่างจากหนังสือที่มีแค่ภาพนิ่ง เต็มไปด้วยตัวอักษรธรรมดา”

 

               กระแสใช้ ipad แทนหนังสือเรียน เริ่มใช้ในตามโรงเรียนในสหรัฐหลายแห่งแล้ว และเริ่มขยายการใช้งาน ipad ให้แพร่หลายมากขึ้นไปอีก แม้ว่า ipad จะราคาแพง แต่จะสามารถลดค่าใช้จ่ายหนังสือเรียน และคุ้มค่ากว่าในระยะยาว ขณะเดียวกันทาง apple เองก็ เตรียมนำแอพพลิเคชันด้านการศึกษา ที่มาใช้ใส่บน iPad นั้นมีมากกว่า 5,400 แอพ โดยมีเป็นแอพที่สามารถนำมาใช้เรียนฟรีๆ มากกว่า 1,000 แอพพลิเคชั่น ทำให้สำนักพิมพ์ในสหรัฐเริ่มตื่นตัว เริ่มมุ่งที่จะเตรียมหันไปผลิต แอพพลิเคชั่นแทนหนังสือแล้ว

  
               อีกไม่นานการใช้ ipad แทน ตำราเรียนต่างๆนี้ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลกในด้านการศึกษาในอนาคต เช่นเดียวกันกับข่าวหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ที่ตอนนี้หันมาผลิตเป็นแอพพลิเคชั่นบน tablet แทนหนังสือกันหมด